ประวัติความเป็นมา ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก

        ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ ครั้งนั้นเรียกว่า 
ด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก สังกัดกรมตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทย มีที่ทำการอยู่บนที่ว่าการอำเภอแม่สอด รวมกับหน่วยราซการอื่นๆ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ ทางอำเภอแม่สอดได้เปิดขยายแผนกงานอื่นๆ ขึ้นอีกหลายแผนกจึงทำให้สถานที่คับแคบไม่สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบกับตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก ได้ปรับย้ายไปอยู่ในสังกัดของ กองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย และได้ย้ายที่ทำการจากที่ว่าการอำเภอแม่สอด ไปอยู่รวมกับด่านศุลกากรอำเภอแม่สอดตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จนกระทั่งวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๓ ได้มีโจรพม่าเชื้อสายกระเหรี่ยง ยังอาศัยอยู่ในเขตพม่า เข้ามาปล้นสะดม และเผาสถานที่ราชการหลายแห่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนั้นด่านศุลกากรจึงได้ไปเช่าบ้านเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ ๕๙๓ ถนนอินทรคีรี ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นสถานที่ทำการ

   ต่อมา ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ได้ไปเช่าบ้านเอกชนอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ ต่อมา ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ได้ไปเช่าบ้านเอกชนอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นจุดตรวจของเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อทำการตรวจบุคคลสัญชาติพม่า ที่เดินทางเข้า – ออก ได้ตามระเบียบจนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๑ จึงได้รับงบประมาณจากกรมตำรวจให้สร้างอาคารที่ทำการถาวรขึ้นบนที่ราชพัสดุ ริมถนนสายเอเชีย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับช่องทางตรวจคนเข้าเมืองเมียวดีประเทศสหภาพพม่า ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมในภูมิประเทศ ซึ่งมีช่องทางติดต่อเข้า – ออกอาคารที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตากสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓

     ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้เปลี่ยนชื่อ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก เป็นด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก สังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง๓ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยหัวหน้าหน่วยงานเป็นระดับรองผู้กำกับการ ประกอบกับที่ทำการประสบปัญหาอุทกภัยเป็นอุปสรรคในการทำงานไม่สะดวกสำหรับผู้มาติดต่อราชการ จึงได้ไปเช่าอาคารที่ทำการเลขที่ ๓๙๐/๑๕ – ๑๖ หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

     ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๔๘ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับโครงสร้างส่วนราชการขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก เป็นหน่วยงานระดับกองกำกับการ สังกัดศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และต่อมาปี พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการก่อสร้างอาคารที่ทำการฯ เป็นที่ทำการถาวรที่ใช้ในปัจจุบัน โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดทำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ ถึงปัจจุบัน

     เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๒ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ปรับโครสร้างส่วนราชการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น ”ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก” สังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๕ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

     ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๕๗ ตม.จว.ตาก ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลในงบพัฒนาเร่งด่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ก่อสร้างอาคารตรวจบุคคล (Terminal) เพื่อเพิ่มศักยภาพงานตรวจบุคคลและพาหนะให้เป็นมาตรฐานสากล

     เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา ข้ามแเม่น้ำเมย แห่งที่ ๒ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาสนับสนุนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่ง ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยวระหว่างกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ.67

อำนาจหน้าที่ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก

มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎหมายว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
รวมทั้งงานอื่นที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

1. งานอำนวยการ

 มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

  • งานธุรการทั่วไป
  • งานบริหารงานบุคคล
  • งานสวัสดิการ
  • งานวิชาการ
  • งานฝึกอบรม
  • งานนโยบายและแผน
  • งานจัดทำสถิติ
  • งานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

2. งานการเงินและพัสดุ

 มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

  • งานการเงินและบัญชี
  • งานจัดสรรและบริหารเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ
  • งานพัสดุ ครุภัณฑ์
  • งานดำเนินการเกี่ยวกับเงินค่าธรรมเนียมค่าปรับ
  • งานเบิกจ่ายค่าอาหารคนต่างด้าวซึ่งต้องกักและคนอพยพ
  • งานรับ-จ่ายและเก็บรักษาเงินประกันและหลักประกัน
  • งานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

3. งานบริการคนเข้าเมือง

 มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

  • งานขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
  • งานรับคำขอการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
  • งานดำเนินการอนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก
  • งานตรวจลงตราและงานเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
  • งานรับแจ้งที่พักอาศัย
  • งานตรวจสอบและเพิกถอน
  • งานบริการคนเข้าเมือง (INTER)
  • ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจ (ปฏิบัติการเชิงรุก)
  • งานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

4. งานตรวจบุคคลและพาหนะ

 มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

  • งานอนุญาตเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักร
  • งานพิธีการเข้าเมือง
  • งานดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจบุคคลและพาหนะที่เข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรหรือผ่านราชอาณาจักร
  • งานขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องตรวจ (VISA ON ARRIVAL)
  • งานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

5. งานสืบสวนสอบสวน

 มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

  • งานสืบสวนสอบสวนผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งความผิดอาญาอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องมาจากความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  • งานการข่าว
  • งานสายตรวจ
  • งานศูนย์รวบรวมวิเคราะห์ประมวลผล
  • ชุดสืบสวนหาข่าว
  • งานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

6. งานป้องกันปราบปราม

 มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

  • ป้องกันปราบปราม ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งความผิดอาญาอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องมาจากความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  • ปฎิบัติหน้าที่จุดตรวจจุดสกัดด้านความมั่นคงบนเส้นทางหลักหรือถนนสายเอเชีย จุดตรวจร่วมบ้านห้วยหินฝน ตลอด 24 ชั่วโมง
  • งานควบคุมคนต้องห้ามและส่งกลับ
  • งานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ.67

  • ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ และพื้นที่รับผิดชอบ

พื้นที่รับผิดชอบ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก

  • พื้นที่รับผิดชอบ ในพื้นที่จังหวัดตาก
  • มีเนื้อที่ 16,406.650 ตร.กม. อยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 6 
  • พื้นที่จังหวัดตาก ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 9 จังหวัด ดังนี้

 ทิศเหนือติดกับ 

  • อำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) 
  • อำเภออมก๋อย อำเภอดอยเต่า (จังหวัดเชียงใหม่) 
  • อำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน)
  • อำเภอแม่พริก อำเภอเถิน (จังหวัดลำปาง)

 ทิศตะวันออกติดกับ 

  • อำเภอบ้านด่านลานหอย (จังหวัดสุโขทัย) 
  • อำเภอพรานกระต่าย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอคลองลาน อำเภอปางศิลาทอง (จังหวัดกำแพงเพชร) 
  • อำเภอแม่วงก์ (จังหวัดนครสวรรค์)
  • อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี)

 ทิศใต้ ติดกับ

  • อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ (จังหวัดกาญจนบุรี)

· ทิศตะวันตกติดกับ

  • รัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า) โดยมีแม่น้ำสายสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าคือแม่น้ำเมย

พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด
ถึงแม้จังหวัดตากจะมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอุทัยธานีและกาญจนบุรีทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ แต่ไม่มีถนนเชื่อมต่อกันโดยตรง
เพราะเป็นที่ตั้งของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แหล่งมรดกโลกในประเทศไทย

  • การปกครอง ในพื้นที่จังหวัดตาก

 การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ – 63 ตำบล 555 หมู่บ้าน

  • 1. อำเภอเมืองตาก – 14 ตำบล 102 หมู่บ้าน
  • 2. อำเภอบ้านตาก – 7 ตำบล 79 หมู่บ้าน
  • 3. อำเภอสามเงา – 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน
  • 4. อำเภอแม่ระมาด – 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน
  • 5. อำเภอท่าสองยาง – 6 ตำบล 67 หมู่บ้าน
  • 6. อำเภอแม่สอด – 10 ตำบล 88 หมู่บ้าน
  • 7. อำเภอพบพระ – 5 ตำบล 52 หมู่บ้าน
  • 8. อำเภออุ้มผาง – 6 ตำบล 36 หมู่บ้าน
  • 9. อำเภอวังเจ้า – 3 ตำบล 28 หมู่บ้าน
  • พื้นที่แนวชายแดนจังหวัดตาก
  • มีพื้นที่แนวชายแดนติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สอด อ.พบพระ อ.อุ้มผาง อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง
  • มีระยะทางประมาณ 533 กม.
  • จุดผ่านแดนถาวร

 จุดผ่านแดนถาวรทางบก ติดกับ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 2 แห่ง

  • จุดผ่านแดนถาวร สะพานมิตรภาพ ไทย-เมียนมา แห่งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก
  • จุดผ่านแดนถาวร สะพานมิตรภาพ ไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก

 จุดผ่านแดนถาวรทางอากาศ (ให้บริการภายในประเทศไทย)

  • ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก


  • ช่องทางอนุมัติ (เฉพาะสินค้า) ตามมาตรา 86 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ในพื้นที่จังหวัดตาก

 ช่องทางอนุญัติ (เฉพาะสินค้า) ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก มีทั้งหมด 52 ท่า

  • อ.ท่าสองยาง 6 ท่า
  • อ.แม่ระมาด 3 ท่า
  • อ.แม่สอด 37 ท่า
  • อ.พบพระ 4 ท่า
  • อ.อุ้มผาง 2 ท่า

ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ.67